Please note, this is a STATIC archive of website developer.mozilla.org from 03 Nov 2016, cach3.com does not collect or store any user information, there is no "phishing" involved.

About this Guide

จาวาสคริปต์ทำงานข้ามระบบ (cross-platform) และเป็นภาษาสคริปต์แบบอ็อบเจกต์ ซึ่งคู่มือนี้จะอธิบายทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการใช้จาวาสคริปต์

คุณลักษณะใหม่ของจาวาสคริปต์แต่ละเวอร์ชัน

สิ่งที่คุณควรรู้อยู่แล้ว

คู่มือนี้สมมุติว่าคุณมีความรู้พื้นฐานในเรื่องต่อไปนี้:

  • ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและเวิร์ลด์ไวด์เว็บ (WWW)
  • ความรู้เกี่ยวกับ HTML ในระดับใช้งานได้ดี
  • มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งถ้าคุณยังใหม่ต่อการเขียนโปรแกรม ให้ทดลองเรียนรู้จากลิ้งค์ในหน้า JavaScript

เวอร์ชันต่างๆของจาวาสคริปต์

ตาราง 1 เวอร์ชันของจาวาสคริปต์และ Navigator
   
JavaScript 1.0 Navigator 2.0
JavaScript 1.1 Navigator 3.0
JavaScript 1.2 Navigator 4.0-4.05
JavaScript 1.3 Navigator 4.06-4.7x
JavaScript 1.4  
JavaScript 1.5 Navigator 6.0
Mozilla (open source browser)
JavaScript 1.6 Firefox 1.5, other Mozilla 1.8-based products
JavaScript 1.7 Firefox 2, other Mozilla 1.8.1-based products
JavaScript 1.8 Firefox 3, other Gecko 1.9-based products

แหล่งข้อมูลจาวาสคริปต์

เอกสารจาวาสคริปต์ ประกอบด้วยหนังสือต่อไปนี้

  • JavaScript Guide (คู่มือนี้) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาษาจาวาสคริปต์ และอ็อบเจกต์ต่างๆ
  • JavaScript Reference ให้ข้อมูลอ้างอิงของภาษาจาวาสคริปต์

ถ้าคุณยังใหม่กับจาวาสคริปต์ ให้เริ่มที่ JavaScript Guide, หลังจากมีความเข้าใจพื้นฐานดีแล้ว คุณสามารถใช้ JavaScript Reference เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละอ็อบเจกต์และคำสั่งได้

ทิปการเรียนรู้จาวาสคริปต์

การเริ่มต้นกับจาวาสคริปต์นั้นง่าย ทั้งหมดที่คุณต้องมีก็คือเว็บเบราว์เซอร์ โดยคู่มือนี้จะใช้คุณลักษณะบางอย่างของจาวาสคริปต์ที่มีให้เฉพาะในเวอร์ชันล่าสุดของไฟร์ฟ็อกซ์เท่านั้น (รวมทั้งเบราว์เซอร์ที่ใช้เอ็นจิ้น Gecko) ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ไฟร์ฟอกซ์เวอร์ชันใหม่ล่าสุด

มีเครื่องมือสองอย่างที่มากับไฟร์ฟ็อกซ์ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทดลองกับจาวาสคริปต์ คือ เว็บคอนโซล และ ScratchPad

เว็บคอนโซล

เว็บคอนโซล แสดงข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเว็บปัจจุบันที่ถูกโหลดให้คุณเห็น และยังรวม บรรทัดคำสั่ง ที่คุณสามารถใช้สั่งนิพจน์จาวาสคริปต์ในหน้าปัจจุบันให้ทำงานได้

วิธีเปิดเว็บคอนโซล ให้เลือก "Web Console" จากเมนู "Web Developer" ซึ่งอยู่ในเมนู "Tools" ในไฟร์ฟ็อกซ์ จะเห็นคอนโซลแสดงที่ด้านล่างของหน้าต่างเบราว์เซอร์ ซึ่งใต้คอนโซลนั้นคือบรรทัดคำสั่งที่คุณสามารถป้อนจาวาสคริปต์ และดูผลลัพธ์ในช่องด้านบนได้:

Scratchpad

เว็บคอนโซลใช้งานได้ดีกับการสั่งงานจาวาสคริปต์ในบรรทัดเดียว ถึงแม้ว่าคุณสามารถสั่งงานหลายบรรทัดได้ มันก็ไม่สะดวกที่จะทำ และคุณก็ไม่สามารถบันทึกตัวอย่างโค้ดของคุณด้วยเว็บคอนโฃลได้ ดังนั้นตัวอย่างโปรแกรมที่ซับซ้อน ควรใช้ Scratchpad มากกว่า

วิธีเปิด Scratchpad ทำได้โดย, เลือก "Scratchpad" จากเมนู "Web Developer" ในเมนู "Tools" ของไฟร์ฟอกซ์ จะเห็นหน้าต่างใหม่ที่สามารถแก้ไขข้อความได้เกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถใฃ้เขียนและสั่งงานจาวาสคริปต์ในเบราว์เซอร์ได้ ทั้งคุณยังสามารถบันทึกสคริปต์และโหลดมันจากดิสค์ได้

ถ้าคุณเลือก "Inspect", โค้ดที่อยู่ในหน้าต่างนี้ จะถูกสั่งให้ทำงานบนเบราว์เซอร์ และผลลัพธ์จะถูกแทรกเป็นข้อความหมายเหตุเข้าไปในหน้าต่างนี้

ข้อกำหนดในเอกสาร

แอปพลิเคชันจาวาสคริปต์ทำงานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ และข้อมูลในหนังสือนี้ก็ใช้ได้กับทุกเวอร์ชัน โดยไฟล์และไดเรกทอรีได้ถูกกำหนดไว้ในรูปแบบของวินโดวส์ (ใช้ backslash คั่นชื่อไดเรกทอรี) ส่วนในเวอร์ชันยูนิกซ์, ชื่อไดเรกทอรียังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ใช้เครื่องหมาย slash แทน backslash เพื่อคั่นชื่อไดเรกทอรี)

คู่มือนี้ใช้ URL (uniform resource locator) ในรูปแบบต่อไปนี้:

https://server.domain/path/file.html

จาก URL นี้, server แทนชื่อของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่แอปพลิเคชันของคุณทำงานอยู่ เช่น research1 หรือ www , domain แทนชื่ออินเตอร์เน็ตโดเมนของคุณ เช่น netscape.com หรือ uiuc.edu , path แทนโครงสร้างไดเรกทอรีบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ , และ file.html แทนชื่อไฟล์ จากรูปแบบของ URL ข้างบน, ตัวอักษรเอียงเป็นตัวอย่างการใช้ ส่วนตัวอักษรโมโนสเปซปกติเป็นค่าที่ต้องกำหนด ซึ่งถ้าเซิร์ฟเวอร์ของคุณเปิดใช้งาน SSL (Secure Socket Layer), ตุณก็ต้องใฃ้ https แทน http ใน URL

คู่มือนี้ใฃ้รูปแบบฟ้อนต์ต่อไปนี้:

  • ฟ้อนท์ monospace ถูกใช้เพื่อแสดงโค้ดตัวอย่าง และรายการโค้ด, API และส่วนของภาษา (เช่น ชื่อเมธอด และชื่อคุณสมบัติ), ชื่อไฟล์, ชื่อพาธ, ชื่อไดเรกทอรี, แท็ก HTML, และข้อความที่ต้องพิมพ์บนหน้าจอ (ฟ้อนท์ Monospace italic ใช้ในข้อความตัวอย่างในโค้ด)
  • ตัวเอียง ใช้เป็น หัวเรื่อง, การเน้นย้ำ, ตัวแปร และตัวอย่างข้อความ, รวมทั้งคำต่างๆที่ใช้ในข้อความ
  • ตัวทึบ ใช้ในอภิธานศัพธ์
 

Document Tags and Contributors

 Contributors to this page: Zarazi
 Last updated by: Zarazi,